วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555

ครูยุคปฏิรูป.....เสนอ 4 วิธีใหม่ 

สาธิต มศว. แนะ 4 หลัก ในการสอนสำหรับครูยุคใหม่ ดังนี้ 

1.มีวิธีคิดใหม่ 
2.มีวิธีสอนใหม่ 
3.มีเครื่องมือใหม่ 
4.มีองค์ความรู้ใหม่ 

นอกจากนี้ หน้าที่ของครูยังต้องสร้างเด็ก ให้รู้คุณค่า และมีเป้าหมายในอนาคต ครับ......... 

มีอะไรใหม่อีกไหมครับ..................






ครูดีเป็นอย่างไร "มงคล โอมาก" พรรณนามาอย่างน่าสนใจ พร้อมกับยกโวหารเปรียบเปรยมาดังนี้ 

เปลวเทียนละลายแท่งทอแสงอันอำไพ 
ชีวิตมลายไป เหลืออะไรไว้ทดแทน 

.....ครูมีหน้าที่พัฒนาเด็ก ครูสร้างคนให้มีความรู้ ครูพัฒนาคนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ในสังคมอย่างมีความสุขรวมทั้งพัฒนาชุมชนและประเทศให้ก้าวหน้ามั่นคง มีความสมดุลและยั่งยืน ครูถูกจัดให้เป็นพ่อแม่คนที่สอง เป็นผู้ให้ปัญญา 

.... ครูดี เปรียบเสมือนเทียนที่ยอมละลายตนเอง เพื่อเปล่งแสงอันอำไพ ถึงตนจะลำบาก ยากเข็ญอย่างใดก็ตั้งใจสั่งสอนศิษย์ให้เป็นคนมีความรู้ความสามารถ ครูจึงเป็นปูชนียบุคคล เป็นที่เคารพของคนทั่วไป 

.... ครูดี คือ ทหารเอกของชาติ ครูเป็นผู้ขัดเกลาคนชั่วให้เป็นคนดี มีหลักการ สร้างคนเกียจคร้านให้เป็นคนขยัน เป็นคนมีน้ำใจ มีไมตรี เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม 
... ครูดี ต้องเป็นนักวางแผนที่ดี... 

.... ก่อนสอนเด็กครูต้องมีการเตรียมความพร้อมมาเป็นอย่างดี สร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้แจ่มใส ครูดีต้องมีความสำนึกอยู่เสมอ ห้องเรียนไม่ใช่คุกที่คุมขังเด็ก ห้องเรียนไม่ใช่คอกเลี้ยงวัว เลี้ยงควาย 

... ครูไม่ใช่ผู้คุมและไม่ใช่เพชรฆาต เด็กเปรียบเสมือนผ้าขาว ครูจะทำให้เป็นสีอะไรก็ได้ 
ครูดี เปรียบเสมือนชาวสวน 

.... ต้นไม้จะผลิดอกออกผล ต้องคอยหมั่นพรวนดิน รดน้ำใส่ปุ๋ย บำรุงรักษา คอยเอาใจใส่ ฆ่าแมลงที่จะมาทำลาย เพื่อให้พันธุ์ไม้ในสวนผลิดอกออกผล ส่งกลิ่นหอมหวาน ครูสอนเด็กก็เฉกเช่นกัน ต้องคอยหมั่นว่ากล่าวตักเตือน เพื่อความก้าวหน้าของนักเรียน 
นี่ คือ ความภูมิใจและความสุขของศิษย์ 

.... ครูดี ต้องเป็นนักพัฒนา พัฒนาตนเอง พัฒนาศิษย์ พัฒนาคุณธรรม ให้ความเป็นกันเอง และเป็นเพื่อนยามยาก คอยปลอบขวัญเมื่อนักเรียนมีปัญหา 

.... ครูดี ต้องเป็นนักแนะแนว แนะแนวเป็นหัวใจของการจัดการศึกษา ทำให้เราเข้าใจเด็กได้ดี เพื่อนำมาไปพัฒนาการเรียนการสอนให้เด็ก มีความฉลาดปราดเปรื่อง เข้าใจปัญหาสังคมโลก... 

ครูที่ดี มีวิชา เป็นอาภรณ์ 
สามารถสอน นักเรียน ได้เลิศล้ำ 
ครูดี มีจรรยา สละนำ 
ไม่กระทำ ตัวอย่าง ทางเลวเอย.. 

ที่มา: กำแหง ภริตานนท์ : บทความ คัดมาจาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส 17 ม.ค. 48



นอกจากที่มีผู้แสดงความคิดเห็นมาแล้วก็ขอเพิ่มเติมอีกว่า ครูยุคปฏิรูปนั้น ก็น่าจะมีสิ่งต่อไปนี้ 

-รักและเข้าใจเด็ก คือ คุณสมบัติขั้นพื้นฐานของคนเป็นครู นอกจากความรักและเอาใจใส่แล้ว ครูยังต้องมีความเมตตา และปรารถนาดีต่อเด็กด้วย 

-ศรัทธาในวิชาชีพ ครูมีหน้าที่พัฒนาเด็กให้เติบโตอย่างมีคุณภาพเพื่อเป็นกำลังสำคัญของประเทศในอนาคต อาชีพครู จึงเป็นงานที่มีเกียรติและน่าภาคภูมิใจยิ่ง 

-ยอมรับความแตกต่างของผู้เรียน ครูเชื่อว่าเด็กทุกคนมีศักยภาพในการเรียนรู้ที่แตกต่างกันไปโดยครูเป็นผู้ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของเด็กในด้านนั้น ๆ ให้โดดเด่นยิ่งขึ้น 

-เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นหัวใจของการปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้คนไทยมีคุณลักษณะพี่พึงประสงค์ (เก่ง ดี มีความสุข) ครูจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีสอนของตนให้สอดคล้องกับแนวทางการจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 

-พัฒนาตนเองเสมอ ความรู้ต่าง ๆ เทคโนโลยี ตลอดจนนวัตกรรมด้านการศึกษาเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หากครูหยุดนิ่งอยู่กับที่ จะกลายเป็นครูตกยุคในที่สุด 

-ทุ่มเทและรับผิดชอบสูง ครูจะประสบความเร็จในอาชีพได้ ต้องทุ่มเทตนเองและอุทิศเวลาให้แก่งานในหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ 

-ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ยึดมั่นในจรรยาบรรณของวิชาชีพครู วางตนเหมาะสม เป็นที่ยอมรับและน่าศรัทธาของสังคม 

-รู้จักวิเคราะห์หลักสูตร สามารถนำหลักสูตรการเรียนรู้มาประยุกต์เข้ากับสภาพแวดล้อมในชีวิตจริงของผู้เรียน และเชื่อมโยงกับสภาวะของสังคมโลกที่อยู่ไกลตัวออกไป 

-เป็นนักประสาน ในอนาคต ครอบครัว ชุมชนท้องถิ่น ตลอดจนสถาบันอื่น ๆ จะเข้ามามีส่วนร่วมทางการศึกษามากขึ้น ครูจึงต้องรู้จักร่วมมือกับองค์กรเหล่านั้นอย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการจัดการศึกษา




ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กำหนดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาขึ้นโดยเฉพาะ คือพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาฉบับแรกของไทย 
ที่มุ่งหวังของไทยจะยกระดับการศึกษาของไทยและปฏิรูปการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ โดยเฉพาะหมวด 4 
ว่าด้วยแนวการจัดการศึกษา ได้กำหนดไว้ว่า


วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555


หลักการใช้ Tense ทั้ง 12

Tense
Tense   คือรูปแบบ(หรือโครงสร้าง)ของกริยา  ที่แสดงให้เราทราบว่า  การกระทำหรือเหตุการ นั้นๆเกิดขึ้นเมื่อใด   ซึ่งเรื่อง  tense  นี้เป็นเรื่องสำคัญ  ถ้าเราใช้    tense  ไม่ถูก  เราก็จะสื่อภาษากับเขา ไม่ได้  เพราะในประโยคภาษาอังกฤษนั้นจะอยู่ในรูปของ  tense  เสมอ  ซึ่งต่างกับภาษาไทยที่เราจะมีข้อความบอกว่าาเกิดขึ้นเมื่อใดมาช่วยเสมอ   แต่ภาษาอังกฤษจะใช้รูป  tense  นี้มาเป็นตัวบอก  ดังนี้การศึกษาเรื่อง  tense  จึงเป็นเรื่องจำ เป็น.
Tense  ในภาษาอังกฤษนี้จะแบ่ง ออกเป็น  3  tense  ใหญ่ๆคือ
               1.     Present   tense        ปัจจุบัน
               2.     Past   tense              อดีตกาล
               3.     Future   tense          อนาคตกาล
ในแต่ละ  tense ยังแยกย่อยได้  tense  ละ  4  คือ
              1 .   Simple   tense    ธรรมดา(ง่ายๆตรงๆไม่ซับซ้อน).
              2.    Continuous  tense    กำลังกระทำอยู่(กำลังเกิดอยู่)
              3.     Perfect  tense     สมบูรณ์(ทำเรียบร้อยแล้ว).
              4.     Perfect  continuous  tense  สมบูรณ์กำลังกระทำ(ทำเรียบร้อยแล้วและกำลัง ดำเนินอยู่ด้วย).


โครงสร้างของ  Tense  ทั้ง  12  มีดังนี้
Present  Tense
                      [1.1]   S  +  Verb  1  +  ……(บอกความจริงที่เกิดขึ้นง่ายๆ ตรงๆไม่ซับซ้อน).
[Present]       [1.2]   S  +  is, am, are  +  Verb  1  ing   +  …(บอกว่าเดี๋ยวนี้กำลังเกิดอะไร อยู่).
                      [1.3]   S  +  has, have  +  Verb  3 +  ….(บอกว่าได้ทำมาแล้วจนถึง ปัจจุบัน).
                      [1.4]   S  +  has, have  +  been  +  Verb 1 ing  + …(บอกว่าได้ทำมาแล้วและกำลังทำ ต่อไปอีก).
Past Tense
                      [2.1]  S  +  Verb 2  +  …..(บอกเรื่องที่เคยเกิดมาแล้วใน อดีต).
[Past]            [2.2]  S  +  was, were  +  Verb 1  +…(บอกเรื่องที่กำลังทำอยู่ในอดีต).
                      [2.3]  S  +  had  +  verb 3  +  …(บอกเรื่อที่ทำมาแล้วในอดีตใน ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง).
                      [2.4]  S  +  had  +  been  +  verb 1 ing  + …(บอกเรื่องที่ทำมาแล้วอย่างต่อ เนื่องไม่หยุด).
Future Tense
                      [3.1]  S  +  will, shall  +  verb 1  +….(บอก เรื่องที่จะเกิดขึ้นในอนาคต).
[Feature]        [3.2]  S  +  will, shall  +  be  +  Verb 1 ing  + ….(บอกว่าอนาคตนั้นๆกำลังทำอะไร อยู่).
                      [3.3]  S  +  will,s hall  +  have  +  Verb 3  +…(บอกเรื่องที่จะเกิดหรือสำเร็จ ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง).
                      [3.4]  S  +  will,shall  +  have  +  been  + verb 1 ing  +.. ..(บอกเรื่องที่จะทำอย่างต่อเนื่องในเวลาใด -  เวลาหนึ่งในอนาคตและ จะทำต่อไปเรื่อยข้างหน้า).  
                
หลักการใช้แต่ละ  tense  มีดังนี้
              [1.1]   Present  simple  tense    เช่น    He  walks.   เขาเดิน,
1.    ใช้กับ เหตุการที่เกิดขึ้นตามความจริงของธรรมชาติ และคำสุภาษิตคำ พังเพย.    
2.    ใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นความจริงในขณะที่พูด  (ก่อนหรือหลังจะไม่จริงก็ตาม).
3.    ใช้กับกริยาที่ทำนานไม่ได้   เช่น  รัก,  เข้าใจ, รู้  เป็นต้น.
4.    ใช้กับการกระทำที่คิดว่าจะเกหิดขึ้นในอนาคตอันใกล้(จะมีคำวิเศษณ์บอกอนาคตร่วมด้วย).
5.    ใช้ในการเล่าสรุปเรื่องต่างๆในอดีต  เช่นนิยาย นิทาน.
6.    ใช้ในประโยคเงื่อนไขในอนาคต    ที่ต้นประโยคจะขึ้นต้น ด้วยคำว่า    If    (ถ้า),       unless   (เว้นเสียแต่ว่า),    as  soon  as  (เมื่อ,ขณะที่),    till  (จนกระทั่ง) ,   whenever   (เมื่อไรก็ ตาม),    while  (ขณะที่)   เป็นต้น.
7.    ใช้กับเรื่องที่กระทำอย่างสม่ำเสมอ  และมีคำวิเศษณ์บอกเวลาที่สม่ำเสมอร่วมอยู่ด้วย  เช่น  always (เสมอๆ),  often   (บ่อยๆ),    every  day   (ทุกๆวัน)    เป็นต้น.
8.    ใช้ในประโยคที่คล้อยตามที่เป็น  [1.1]  ประโยคตามต้องใช้   [1.1]  ด้วยเสมอ.


[1.2]   Present  continuous  tense   เช่น   He  is  walking.  เขากำลังเดิน.
1.    ใช้ในเหตุการณ์ที่กำลังกระทำอยู่ในขณะที่พูด(ใช้  now ร่วมด้วยก็ได้ โดยใส่ไว้ต้น ประโยค, หลังกริยา หรือสุดประโยคก็ ได้).
2.    ใช้ในเหตุการณ์ที่กำลังกระทำอยู่ในระยะเวลาอันยาวนาน  เช่น  ในวันนี้ ,ในปีนี้ .
3.    ใช้กับเหตุการณ์ที่ผู้พูดมั่นใจว่าจะต้องเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้  เช่น เร็วๆนี้, พรุ่งนี้.
*หมายเหตุ   กริยาที่ทำนานไม่ได้  เช่น  รัก ,เข้าใจ, รู้, ชอบ  จะนำมาแต่งใน  Tense  นี้ไม่ได้.

            [1.3] Present perfect tense เช่น He has walk เขาได้เดินแล้ว.
1.    ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต และต่อเนื่องมาจนถึง ปัจจุบัน  และจะมีคำว่า Since  (ตั้งแต่) และ for  (เป็นเวลา) มาใช้ร่วมด้วยเสมอ.
2.    ใช้กับเหตุการณ์ที่ได้เคยทำมาแล้วในอดีต (จะกี่ครั้งก็ได้ หรือจะทำอีกใน ปัจจุบัน หรือจะทำในอนาคต ก็ได้)และจะมีคำ ว่า  ever  (เคย) ,  never  (ไม่เคย) มาใช้ร่วมด้วย.
3.    ใช้กับเหตุการณ์ที่จบลงแล้วแต่ผู้พูดยังประทับใจอยู่ (ถ้าไม่ประทับใจก็ใช้   Tense
4.    ใช้กับ เหตุการที่เพิ่งจบไปแล้วไม่นาน(ไม่ได้ประทับใจอยู่) ซึ่งจะมีคำเหล่านี้มาใช้ร่วมด้วยเสมอ คือ  Just   (เพิ่งจะ), already  (เรียบร้อยแล้ว), yet  (ยัง), finally  (ในที่สุด)  เป็นต้น.



   [1.4] Present  perfect  continuous  tense    เช่น  He  has  been  walking .  เขาได้กำลังเดินแล้ว.
*  มีหลักการใช้เหมือน  [1.3]  ทุกประการ เพียงแต่ว่าเน้นว่าจะทำต่อไปในอนาคตด้วย    ซึ่ง [1.3] นั้นไม่เน้นว่าได้กระทำอย่างต่อเนื่องหรือไม่  ส่วน [1.4]  นี้เน้นว่ากระทำมาอย่างต่อเนื่องและจะกระทำต่อไปในอนาคตอีกด้วย.

             [2.1] Past  simple  tense      เช่น  He  walked.  เขาเดิน แล้ว.
1.   ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและจบลงแล้วในอดีต   มิได้ต่อเนื่องมาถึงขณะ ที่พูด และมักมีคำต่อไปนี้มาร่วมด้วยเสมอในประโยค เช่น  Yesterday, year  เป็นต้น.
2.    ใช้กับเหตุการณ์ที่ทำเป็นประจำในอดีตที่ผ่านมาในครั้งนั้นๆ ซึ่งต้องมีคำวิเศษณ์บอกความถี่ (เช่น Always, every  day ) กับคำวิเศษณ์ บอกเวลา (เช่น  yesterday,  last  month )  2  อย่างมาร่วมอยู่ด้วยเสมอ.
3.    ใช้กับเหตุการณ์ที่ได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต  แต่ปัจจุบันไม่ได้เกิด อยู่ หรือไม่ได้เป็นดั่งในอดีตนั้นแล้ว  ซึ่งจะมีคำว่า  ago  นี้ร่วมอยู่ด้วย.
4.      ใช้ในประโยคที่คล้อยตามที่เป็น [2.1]  ประโยคคล้อยตามก็ต้อง เป็น [2.1]  ด้วย.

        [2.2]   Past continuous  tense   เช่น    He  was  walking .  เขากำลังเดินแล้ว
1.     ใช้กับเหตุการณ์   2   อย่างที่เกิดขึ้นไม่พร้อมกัน  { 2.2  นี้ไม่นิยมใช้ตามลำพัง - ถ้าเกิดก่อนใช้  2.2   -  ถ้าเกิดทีหลังใช้ 2.1}.
2.     ใช้กับเหตุการณ์ที่ ไดกระทำติดต่อกันตลอดเวลาที่ได้ระบุไว้ในประโยค  ซึ่งจะมีคำบอกเวลาร่วมอยู่ด้วยในประโยค  เช่น  all  day  yesterday  etc.
3.     ใช้กับเหตุการณ์  2  อย่างที่กำลังทำในเวลาเดียวกัน(ใช้เฉพาะกริยาที่ทำได้นานเท่านั้น  หากเป็นกริยาที่ทำนานไม่ได้ก็ใช้หลักข้อ 1 ) ถ้าแต่งด้วย 2.1  กับ  2.2  จะดูจืดชืดเช่น   He  was  cleaning  the  house  while  I was  cooking  breakfast.

         [2.3]   Past  perfect  tense    เช่น  He  had walk.  เขาได้เดินแล้ว.
1.    ใช้กับ เหตุการณ์  2  อย่างที่เกิดขึ้นไม่พร้อมกันในอดีต  มีหลักการใช้ดังนี้.
เกิดก่อนใช้  2.3  เกิดทีหลังใช้  2.1.
2.     ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำอันเดียวก็ได้ในอดีต แต่ต้องระบุชั่วโมงและวันให้แน่ชัดไว้ในทุกประโยคด้วยทุกครั้ง  เช่น   She  had  breakfast  at  eight o’ clock  yesterday.

        [2.4]   past  perfect  continuous  tense    เช่น   He  had  been  walking.
           มีหลักการใช้เหมือนกับ  2.3  ทุกกรณี  เพียงแต่  tense  นี้  ต้องการย้ำถึงความต่อเนื่องของการกระทำที่ 1  ว่าได้กระทำต่อเนื่องไปจนถึงการกระทำที่  2  โดยมิได้หยุด  เช่น  When  we  arrive  at  the  meeting ,  the  lecturer  had  been  speaking  for  an  hour  .   เมื่อพวกเราไปถึงที่ ประชุม  ผู้บรรยายได้พูดมาแล้ว เป็นเวลา 1  ชั่วโมง.



  [3.1]   Future  simple  tense      เช่น   He  will  walk.    เขาจะเดิน.
              ใช้กับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  ซึ่งจะมีคำว่า  tomorrow,  to  night,  next  week,  next  month   เป็นต้น  มาร่วมอยู่ด้วย.
           * Shall   ใช้กับ     I    we.
             Will    ใช้กับบุรุษที่  2  และนามทั่วๆไป.
             Will,  shall  จะใช้สลับกันในกรณีที่จะให้คำมั่นสัญญา, ข่มขู่บังคับ, ตกลงใจแน่วแน่.
             Will,  shall   ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือจงใจก็ได้.
             Be  going  to  (จะ)  ใช้กับความจงใจของมนุษย์ เท่านั้น  ห้ามใช้กับเหตุการณ์ของธรรมชาติและนิยมใช้ใน ประโยคเงื่อนไข.

       [3.2]    Future   continuous    tense    เช่น   He  will  be  walking.    เขากำลังจะ เดิน.
1.     ใช้ในการบอกกล่าวว่าในอนาคตนั้นกำลังทำอะไรอยู่ (ต้องกำหนดเวลาแน่นอน ด้วยเสมอ).
2.     ใช้กับเหตุการณ์  2  อย่างที่จะเกิดขึ้นไม่พร้อมกันในอนาคต  มีกลักการใช้ดังนี้.
               -   เกิดก่อนใช้    3.2      S  +  will  be,  shall  be  +  Verb 1  ing.
                -  เกิดทีหลังใช้   1.1     S  +  Verb  1 .


        [3.3]   Future   prefect  tens    เช่น  He  will  walked.  เขาจะได้เดินแล้ว.
1.  ใช้กับเหตุการณ์ที่จะ เกิดขึ้นหรือสำเร็จลงในเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต  โดยจะมีคำว่า  by  นำหน้ากลุ่มคำที่บอกเวลา ด้วย  เช่น   by  tomorrow  ,   by  next  week   เป็น ต้น.
2.  ใช้กับเหตุการณ์  2  อย่างที่จะเกิดขึ้นไม่พร้อมกันในอนาคต มีหลักดังนี้.
              -      เกิดก่อนใช้   3.3      S  +  will, shall  +  have  +  Verb 3.
-         เกิด ที่หลังใช้   1.1    S  +  Verb 1 .

        [3.4]  Future  prefect  continuous  tense เช่น He  will  have  been  walking. เขาจะได้กำลัง เดินแล้ว.
          ใช้เหมือน  3.3  ต่างกันเพียงแต่ว่า  3.4  นี้เน้นถึงการกระทำที่  1  ได้ทำต่อเนื่องมาจนถึงการกระทำที่  2  และจะกระทำต่อไปในอนาคต อีกด้วย.
           *   Tense  นี้ไม่ค่อยนิยมใช้บ่อย นัก  โดยเฉพาะกริยาที่ทำนาน ไม่ได้ อย่านำมาแต่งใน  Tense  นี้เด็ดขาด.
จบเรื่อง  Tense


 ปัญหาที่พบมากที่สุด ในการเรียนภาษาอังกฤษ
 

 
      Top 
 
  
 Collocation : ต้นเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทย เขียนและพูดภาษาอังกฤษไม่ได้มาตรฐาน
 
 พวกเราเขียนและพูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยได้ เพราะว่าเราถูกสอนอยู่เพียง 2 ส่วนคือ คำศัพท์ (Vocabulary) และ ไวยากรณ์ (Grammar) แต่ในความเป็นจริง คือ คำศัพท์ในภาษาอังกฤษส่วนใหญ่จะถูกใช้เป็นกลุ่มคำ ไม่ใช่นำคำศัพท์แต่ละคำมาเรียงต่อกันเป็นประโยคเหมือนภาษาไทย
ยกตัวอย่างเช่น
"ฉันไปโรงเรียน"ฝรั่งใช้ I go to school.ไม่ใช่  I (ฉัน) go (ไป) school (โรงเรียน)
แต่ "ฉันกลับบ้าน"ฝรั่งใช้ I go home.ไม่ใช่ I go to home.
สุขสันต์วันเกิดแด่เธอHappy birthday to you.ไม่ใช่ Happy birthday for ( แด่ สำหรับ) you.
เขาผ่านไปฝรั่งใช้ He passed by.ไม่ใช่ He passed(ผ่าน) away (จากไป)
เพราะ "pass away" แปลว่า ล่วงลับ ตาย
เรามักใช้คำภาษาอังกฤษ แปลเป็นไทยตรงๆ จึงทำให้ฝรั่งไม่เข้าใจ
จากประสบการณ์ การทำงานแปลและเขียนภาษาอังกฤษ มาเป็นเวลานานกว่า 50ปี คุณวงศ์ วรรธนพิเชฐ ผู้เรียบเรียง พจนานุกรม English By Example มีความเห็นว่า ประโยคภาษาอังกฤษไม่ใช่มีเพียงแค่
ประธาน (Subject)
+
กริยา (Verb)
+
กรรม (Object)
แต่ความจริงแล้ว องค์ประกอบที่สำคัญในการแต่งประโยคภาษาอังกฤษให้ได้มาตรฐาน มี 3 ส่วน คือ
คำศัพท์ (Vocabulary)
  
+
  
ไวยากรณ์ (Grammar)
=
ประโยค (Sentence)
+
  
Collocation
  
 
  Collocation คืออะไร
 อธิบายง่ายๆ Collocation คือ กลุ่มคำที่ต้องใช้ร่วมกัน หรือ เรียกอีกอย่างว่า "คำปรากฏร่วม"
จากตัวอย่างที่ได้กล่าวมาข้างต้น "go to school", "go home", "Happy birthday to you", "pass by", "pass away" เป็น Collocation
Collocation นั้นไม่เกี่ยวกับหลักไวยากรณ์ เพราะบางกลุ่มคำถึงแม้จะวางสลับตำแหน่ง หรือใช้คำไม่ถูก แต่ ก็ไม่ผิดไวยากรณ์แต่ประการใด แต่การใช้ Collocation ผิด จะทำให้เจ้าของภาษาหรือผู้ที่รู้ภาษาอังกฤษมากๆ ทราบได้ทันทีว่า เราเป็นคนต่างชาติและใช้ภาษาอังกฤษไม่ได้มาตรฐาน
คำว่า Collocation มาจากคำภาษาอังกฤษ 2 คำ คือ col (to do something with something or someone) + location มีคำแปลภาษาไทยว่า "คำปรากฏร่วม" Collocation เป็นการเชื่อมคำ การจัดวางคำ หรือกลุ่มคำ (รวมทั้ง idioms) ที่จำเป็นต้องใช้ร่วมกันในประโยค ที่เจ้าของภาษานิยมใช้ และเห็นว่าถูกต้องตามมาตรฐาน ซึ่งคำที่ใช้ร่วมกันนั้น จะใช้คำอื่นแทน หรือสลับตำแหน่งกันไม่ได้ ถึงแม้ว่าคำที่จะใช้แทนจะมีความหมายเหมือนกัน หรือใกล้เคียงกันก็ตาม
ความจริงทุกภาษาก็มี collocation รวมทั้งภาษาไทย ตัวอย่างเช่น
คำบางคำเมื่อใช้ร่วมกันแล้วสลับตำแหน่งกันไม่ได้ เช่น

Thai collocation
บ่ายสองโมงไม่ใช่ สองโมงบ่าย (บ่ายต้องนำหน้าเวลา)
ห้าโมงเย็นไม่ใช่ เย็นห้าโมง (เย็นต้องตามหลังเวลา)
หรือ ฝนตกไม่ลืมหูลืมตา (ฝนตกหนัก)ไม่ใช่ ฝนตกไม่ลืมตาลืมหู
คนไทยก็ไม่มีเหตุผล หรือหลักไวยากรณ์ในเรื่องนี้ ทั้งที่บ่ายกับเย็น มีความหมายบอกช่วงเวลาของวันเหมือนกัน หรือ หูกับตาก็เป็นอวัยวะเหมือนกัน แต่สลับตำแหน่งกันไม่ได้
English collocation
It rains cats and dogs.
ประโยคนี้เป็นสำนวน (idiom) แปลว่า ฝนตกหนัก
คำว่า cats and dogs เป็น collocation
เราไม่สามารถ เขียนเป็น dogs and cats หรือ cats and cows ได้
 
คำบางคำเมื่อใช้ร่วมกัน ความหมายก็เปลี่ยนไป เช่น

Thai collocation
หินอ่อน คือ marbleไม่ใช่ หินนุ่ม หินนิ่ม หรือ soft rock
ตัดถนน แปลว่า ทำถนนสายใหม่เพิ่มตัด แปลว่า ทำให้สั้นลง ลดลง แยกออกจากกัน
English collocation
The cloth has fast colour. (ผ้าสีไม่ตก)
เราจะทราบกันโดยส่วนใหญ่ว่า fast แปลว่า "เร็ว"
คำว่า stable หรือ durable ซึ่งแปลว่า "ทนทาน" น่าจะใกล้เคียงกว่า
แต่เจ้าของภาษาไม่ใช้คำว่า stable colour หรือ durable colour
ดังนั้นจึงต้องใช้คำว่า fast colour ตามเจ้าของภาษา ดังนั้นคำว่า fast colour จึงเป็น collocation
 
คำบางคำความหมายเหมือนกัน หรือใกล้เคียงกัน แต่ใช้แทนกันไม่ได้ เช่น

Thai collocation
ย่านธุรกิจไม่ใช่ เขตธุรกิจ
เขตป่าสงวนไม่ใช่ ย่านป่าสงวน
พื้นที่สีเขียวไม่ใช่ เขต/ย่าน สีเขียว
English collocation
คำว่า strong กับ powerful มีความหมายใกล้เคียงกัน
แต่ภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า strong windstrong competition
และ powerful machinepowerful enginepowerful weapon
เราไม่สามารถใช้ strong machine หรือ powerful wind ได้
 
  ความสำคัญของ Collocation
 Collocation เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ถูกละเลย ไม่ได้รับความสำคัญในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ทั้งๆ ที่ Collocation ถูกใช้ในการเขียนภาษาอังกฤษ มากถึง 60-80% ดังนั้น การเน้นให้ท่องจำศัพท์เป็นคำๆ มากๆ จึงไม่ทำให้เราเรียนภาษาอังกฤษเก่งขึ้น เท่ากับการฝึกให้จดจำศัพท์เป็นกลุ่มคำ (Collocations) ศัพท์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไป มีไม่ถึง 4,000 คำ แต่ Collocations หรือกลุ่มคำศัพท์ที่ใช้ร่วมกับคำศัพท์เหล่านั้น มีมากมายหลายหมื่น Collocations ดั้งนั้น หากเรารู้ Collocations หลายหมื่น Collocations ก็เท่ากับว่า เราสามารถแต่งประโยคที่ถูกต้องได้มากมายนับไม่ถ้วน
ข้อควรระวังที่สำคัญยิ่ง พวกเราหลายคน ชอบเขียนภาษาอังกฤษแบบแปลตรงตัวจากไทยเป็นอังกฤษ ซึ่งอาจมีการใช้ Collocation ผิด ทำให้ความหมายผิดไปด้วย ตัวอย่างเช่น
  1. เธอเป็นคนใจเย็น
    Correct: She is cool-tempered.
    Wrong: She is cold-hearted. (เธอเป็นคนใจร้าย)
  2. เขาผ่านไป
    Correct: He passed by.
    Wrong: He passed away. (เขาเสียชีวิต)
  3. เขาทานยา
    Correct : He takes medicine.
    Wrong: He takes drugs.(เขาติดยาเสพติด)
  4. บ้านหันหน้าไปทางทิศตะวันออก
    Correct: The house looks east.
    Wrong: The house turns to east.
  5. เธอเป็นคนง่ายๆ
    Correct: She is easy-going.
    Wrong: She is an easy woman. (เธอเป็นผู้หญิงใจง่าย)
บทความที่เกี่ยวข้อง
2 วิธีเท่านั้น ที่ทำให้เราสามารถรู้ Collocations ได้มากๆ