วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

โรงเรียนวัดอมรินทราราม นางสาว พรธีรา คำดี 5281123821

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555


บ้านฉัน


ในสมัยอาณาจักรสุวรรณภูมิและอาณาจักรทวารวดี สระแก้วเป็นชุมชนที่มีความสำคัญแห่งหนึ่ง มีฐานะเป็นเมืองขึ้นของเมืองปราจีนบุรี (เมืองประจิมในสมัยโบราณ)
สระแก้ว เป็นชื่อที่มาจากชื่อสระน้ำโบราณซึ่งอยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองสระแก้ว มีอยู่จำนวน 2 สระ ในสมัยกรุงธนบุรีราวปี พ.ศ. 2323 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (เมื่อครั้งทรงเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก) เป็นแม่ทัพยกทัพไปตีกัมพูชา (เขมร) ได้แวะพักกองทัพที่บริเวณสระน้ำทั้งสองแห่งนี้ กองทัพได้อาศัยน้ำจากสระใช้สอยและได้ขนานนามสระทั้งสองว่า "สระแก้ว-สระขวัญ" และได้นำน้ำจากสระทั้งสองแห่งนี้ใช้ในการประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา โดยถือว่าเป็นน้ำบริสุทธิ์
สมัยก่อนสระแก้วมีฐานะเป็นตำบลขึ้นอยู่ในการปกครองของอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดกบินทร์บุรี ซึ่งทางราชการได้ตั้งเป็นด่านสำหรับตรวจคนและสินค้าเข้า-ออก มีข้าราชการตำแหน่งนายกองทำหน้าที่เป็นนายด่าน จนถึงปี พ.ศ. 2452 ทางราชการจึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ ชื่อว่า กิ่งอำเภอสระแก้ว โดยใช้ชื่อสระน้ำเป็นชื่อกิ่งอำเภอ ขึ้นกับอำเภอกบินทร์บุรี ในภายหลังจังหวัดกบินทร์บุรีถูกยุบ จึงถูกยุบรวมกับจังหวัดปราจีนบุรี (เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2468) ต่อมาเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็นอำเภอชื่อว่า อำเภอสระแก้ว ขึ้นอยู่ในการปกครองของจังหวัดปราจีนบุรี และในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ได้รับการยกฐานะเป็นจังหวัด

ครู-อาจารย์ควรเน้นการเรียนการสอนเชิงรุก

การเรียนรู้มีหลายวิธี: อ่านหนังสือ ฟังเทป ฟังผู้สอนเล่า บรรยาย ดูภาพยนต์ มองรูป มองดูสิ่งที่ต้องการเรียนรู้.. เหล่านี้.. ผมขอเรียกว่า เรียนรู้แบบเชิงรับ (passive) คือผู้เรียนมีการกระทำน้อยมาก ถ้าผู้เรียนมีการกระทำมากๆ เช่น พูด อภิปราย โต้ตอบ ถกเถียง แลกเปลียนความคิดเห็นกับคนอื่น ทำแบบฝึกหัด ฝึกทักษะ ค้นหา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย ลงมือทดลอง ทำกิจกรรม ผลิตชิ้นงานขึ้นมา นำความรู้ไปสอนคนอื่น.. อย่างนี้.. ผมขอเรียกว่า เรียนรู้แบบเชิงรุก (active)
สถานศึกษาทั่วไปมีการเรียนการสอนทั้งสองแบบอยู่แล้ว แต่แบบเชิงรุกนั้น ผมมีความรู้สึกว่า ยังค่อนข้างจะน้อยไป ถ้าผู้สอน ผู้มีอาชีพครู สอนแบบเชิงรุกให้มาก เขาจะเห็นความกระตือรือร้น และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของศิษย์สูงขึ้น

การเรียนรู้ที่แท้จริงและถาวร

จากการวิจัย มนุษย์เรียนรู้โดยการรับรู้ผ่านสัมผัสทั้งห้า: ตา หู จมูก ปาก สัมผัส แต่ผลการเรียนรู้ที่ได้ จะอยู่คงทน (retain/ไม่ลืม) เพียงใดหรือไม่ ย่อมแตกต่างกัน Dale Edgar ได้ให้ตัวเลขอัตรา (%) ความคงทน ความไม่ลืม ไว้ดังนี้
Cone of Experience
Dale Edgar: Cone of Experience (กรวยแห่งประสบการณ์)
ดังนั้น การสอนโดยให้ศิษย์ (1) ได้อภิปราย (ระดับอุดมศึกษามีวิชาสัมมนา: สัมมนาการบัญชี สัมนาการจัดการ สัมมนาการตลาด ฯลฯ) (2) ได้ทำกิจกรรม/ฝึกงาน (3) ได้นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน หรือนำความรู้ไปสอนผู้อื่น สามประการนี้ ศิษย์จะจำเนื้อหาวิชาที่ตนเรียนรู้ได้แม่น ไม่ลืมง่ายๆ (ความคงอยู่ของความรู้ 55%, 75% และ 95% ตามลำดับ) แม้ว่าเวลาจะผ่านไปหลายๆ ปีแล้วก็ตาม แต่ถ้าลืมไปบ้าง ก็สามารถฟื้นความรู้กลับมาได้ง่าย ไม่ยาก.. หลายท่านหัดปั่นจักรยานเมื่ออายุราว 10 ขวบ จนป่านนี้ในวัยทอง ก็ยังปั่นจักรยานได้ ทั้งๆ ที่ทิ้งไปหลายสิบปี.. มันน่าจะลืม แต่ไม่ลืม! เพราะอะไร? เพราะหัดปั่นจักรยาน (ว่ายน้ำด้วย) เป็นกิจกรรม หรือประสบการณ์จริง มีความคงทนถึง 75% ถ้าลืมไปก็ฟื้นกลับมาได้ง่ายมาก กะย็อกกะแย็ก 2-3 ครั้งก็ปั่นได้ปร๋อเหมือนเมื่ออดีตตอน 10 ขวบ
ตัวเลข % ของ Dale Edgar ในรูปกรวยข้างบน ชี้ให้เห็นว่า การปฏิบัต (active) มีประสิทธิภาพประสิทธิผลต่อการเรียน มากกว่าการอ่าน และการฟัง (passive).. เมื่อกว่า 2500 ปีมาแล้ว บรมครูของจีน ขงจื๊อ ก็เคยสอนไว้ว่า "ท่านฟังแล้วท่านลืม ท่านอ่านแล้วท่านจำ ท่านทำแล้วท่านเข้าใจ"
ท่านอ่านแล้วท่านจำ แต่ความจำแบบนี้อยู่กับท่านก็เพียง 10% เท่านั้น (ตาม Dale Edgar) ขงจื๊อจึงเน้นว่า ท่านทำแล้วท่านเข้าใจ เพราะว่า อะไรที่ท่านรู้ในขณะนี้ แต่ไม่เข้าใจถ่องแท้ ไม่แน่ใจ ก็ย่อมจำยาก จำไม่ได้นาน ถ้าลงมือทำ จะเข้าใจความเข้าใจช่วยให้จำแม่น ความคงทนของความรู้ที่ได้มาจะถึง 75% - 95% ทีเดียว
งานของ ขงจื๊อ, Haward Gardner และ Dale Edgar มีอิทธิพลต่อการสอนของผม นอกจากการบรรยาย อธิบายแล้ว ผมมักจะให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัด ฝึกปฏิบัติ มอบหมายชิ้นงานให้ทำแล้วให้ส่งในวันกำหนด (หลายครั้ง ผมนำชิ้นงานของนักศึกษาไปโชว์/อวด) นักศึกษาต้องเหนื่อย (active) สบายๆ (passive) ไม่ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าผมคนสั่งจะสบายขึ้น ไม่ใช่.. ผมต้องออกแรงมากขึ้น กล่าวคือต้องวางแผนให้ดี เตรียมเอกสาร คู่มือ แผ่น CD.. ต้องเอาใจใส่ ดูแล อำนวยความสะดวก ตรวจงานของศิษย์ทุกคน ช่วยแนะนำ แก้ปัญหา..
โชคดีที่ศิษย์ส่วนมากสนใจ กระตือรือร้น ขยันทำงานที่ได้รับมอบหมาย และ์ทำได้ดี น่าปลื้มใจ

ลักษณะการเรียนการสอนที่ดี*

แนวคิดของ Haward Gardner และการวิจัยของ Dale Edgar ทำให้เราประมวลลักษณะการเรียนการสอนที่ดี เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผล ผู้มีอาชีพครูควรนำมาประยุกต์ใช้ ดังนี้:
    1. ต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
    2. เน้นความต้องการของผู้เรียนเป็นหลัก
    3. ต้องพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียน
    4. ต้องเป็นที่น่าสนใจ ไม่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อหน่าย
    5. ต้องดำเนินไปด้วยความเมตตากรุณาต่อผู้เรียน
    6. ต้องท้าทายให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้
    7. ต้องตระหนักถึงเวลาที่เหมาะสมที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้
    8. ต้องสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ โดยการปฏิบัติจริง
    9. ต้องสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้
    10. ต้องมีจุดมุ่งหมายของการสอน
    11. ต้องสามารถเข้าใจผู้เรียน
    12. ต้องคำนึงถึงภูมิหลังของผู้เรียน
    13. ต้องไม่ยึดวิธีการใดวิธีการหนึ่งเท่านั้น
    14. การเรียนการสอนที่ดีเป็นพลวัตร (Dynamic) กล่าวคือ มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทั้งในด้านการจัดกิจกรรม การสร้างบรรยากาศ รูปแบบ เนื้อหา สาระ เทคนิค วิธี ฯลฯ
    15. ต้องสอนในสิ่งที่ไม่ไกลตัวผู้เรียนมากเกินไป
    16. ต้องมีการวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ
ผมขอเสริมนิดเดียว: เนื่องจากปัญญาของมนุษย์มี 8 ประเภทหลักๆ (Haward Gardner) การเรียนการสอนจึงน่าจะมีอย่างน้อย 8 วิธีการ ไม่ใช่มีเพียงวิธีการเดียว (และที่ใส่สีน้ำตาลนั้น ไม่มีอะไรหรอก ผมเตือนตัวผมเองเท่านั้น) 

____________________
* 
(Kochhar, S.K., Methods & Technique of Teaching. สำนักงานนโยบายและแผนการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, หัวใจของการปฏิรูปการศึกษา ตามแนว พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  น. 24-25)